อาการโรค แพนิก รับมือกับภาวะตื่นตระหนก

อาการโรค แพนิก

อาการโรค แพนิก (Panic) คือ ภาวะตื่นตระหนก วิตกกังวล หรือความกลัว ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เหมือนโดนจู่โจมทั้งที่ไม่ได้เผชิญกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่อันตรายใด ๆ ซึ่งอาการรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 3-10 นาที เกิดขึ้นเป็นพัก ๆ อาจนานถึงหนึ่งชั่วโมง โรคที่เกิดจากฮอร์โมนลด หรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร ระบบประสาทที่ควบคุม การทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน จึงเกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก หายใจไม่ทัน ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม และเป็นอาการที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุ หรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ นั่นทำให้บางคนที่มีอาการมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และผู้ป่วยโรคแพนิค มักจะรู้ตัวว่าเป็นโรคแพนิก ก็ต่อเมื่อมีอาการดังกล่าวไป พบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค แล้วพบว่าหัวใจแข็งแรงเป็นปกติ แพทย์จะสงสัย และอาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิก เมื่อมีลักษณะอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น และสงสัยว่าอาจเป็นโรคแพนิค สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือการไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด แม้ว่าโรคแพนิคจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาการของโรคนั้นไปสัมพันธ์ คล้ายคลึงกับปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบหลอดเลือดหัวใจ และหัวใจวายเฉียบพลัน WBET69 โดยมักเกิดขึ้นร่วมกันอาการต่าง ๆ ที่พบได้ดังนี้

อาการของโรคแพนิค ที่พบได้บ่อย ๆ

  • ใจเต้นเร็ว สั่นเหมือนตีกลอง
  • เจ็บบริเวณหน้าอก
  • หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม
  • รู้สึกมึนงง โคลงคลง เป็นลม
  • รู้สึกชา หรือซ่า ตามปลายมือ ปลายเท้า
  • ตัวร้อนวูบวาบ หรือตัวสั่น
  • เหงื่อแตก
  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
  • ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในความฝัน มีการรับรู้บิดเบือนไป
  • ความกลัวอย่างท่วมท้น ร่วมกับความรู้สึกสังหรณ์ ว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวเกิดขึ้นกับตัวเอง และเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ กลัวว่าจะตาย กลัวว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้ เหมือนจะเป็นบ้า หรือแสดงอาการบางอย่างที่น่าอายออากไป

รักษาอย่างไรได้บ้าง

ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ คือการรักษาทางยาร่วมกับการดูแลด้านจิตใจ โรคแพนิค มีวิธีรักษา ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นมากจนหายขาดได้ 7 หรือ 9 รายใน 10 ราย โดยอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภายหลังเริ่มมีอาการรักษาแล้ว 6-8 สัปดาห์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์ยังคง ให้การรักษาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อป้องกันการกำเริบของอาการ การหยุดยาควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะจะเกิดอาการหยุดยา หรือมีอาการกำเริบ

หากมีอาการ ‘แพนิก’ ผู้ป่วยควรรับมืออย่างไรให้ถูกต้อง

  1. โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต เหมือนที่ผู้ป่วยมักกลัว
  2. ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษา
  3. ไม่ควรบรรเทาอาการด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ เพราะอาการรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดเสพ
  4. ลดหรืองด กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ประเภทโคล่าทุกชนิด
  5. ออกกำลังกายตามสมควร ตามความสามารถ
  6. เมื่อมีอาการต่างๆ ทุเลาลงแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัว และลองทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยงโดยเริ่มทีละน้อยแต่สม่ำเสมอ
  7. ฝึกเทคนิกการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด

วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยตัวเอง

ทำตัวเมื่อเกิด อาการโรค แพนิก สำหรับผู้ที่เป็นโรคแพนิคทุกคน ขอให้ปฏิบัติ เมื่อเกิดอาการดังนี้

1. หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย แค่ทรมานแต่เดี๋ยวก็หาย 

2. มียาที่แพทย์ให้พกติดตัวไว้ กินเมื่ออาการเป็นมาก

3. ฝึกการผ่อนคลายอื่น ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ ทำงานอดิเรกต่าง ๆ ที่ช่วยให้มีความสุข …newsportforyou

ถึงจะไม่อันตราย…แต่ก็ต้องรักษา

โรคแพนิครักษาได้ด้วยการทานยาเพื่อปรับสมดุล ของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ การตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกาย เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือรักษาด้วยการทำจิตบำบัดซึ่งอาจหาต้นเหตุของความกลัวได้ แต่ผู้ป่วยก็สามารถลดความวิตกกังวล ของตนเองได้เช่นกัน เช่น การฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ เมื่อเกิดอาการ หรือควบคุมอาหารบางประเภทที่กระตุ้นให้อาการกำเริบอย่างคาเฟอีน หรือน้ำอัดลม

การรักษาที่ได้ผลดีคือการรักษาแบบองค์รวม นอกจากรับประทานยาอย่างต่อเนื่องแล้ว จำเป็นต้องมีการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปด้วย โดยให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบำบัด ปรับแนวคิด ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ร่วม กับโรคนี้ได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ ให้พยายามพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ผ่อนคลายจากความเครียดและความวิตก ดูแลจิตใจตัวเองให้เข้มแข็งมีความสุขกับทุกวัน และดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม

เริ่มต้นดูแลตัวเองแบบง่ายๆ ด้วยการงดพฤติกรรมเหล่านี้

  • การใช้ชีวิตประจำวันด้วยความเร่งรีบ
  • กินนอนไม่เพียงพอและไม่เป็นเวลา
  • ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือมากเกินไป

• การรักษาด้วยยา
ยารักษากลุ่มอาการตื่นตระหนกแบ่งตามการออกฤทธิ์ได้ ดังนี้
1. ยากลุ่มออกฤทธิ์เร็ว
ยากลุ่มนี้ควบคุมอาการของโรคได้เร็ว แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ดื้อยา แพทย์จึงมักให้ยากลุ่มนี้ในระยะแรกหรือให้ในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อควบคุมอาการ เช่น ยากลุ่มช่วยคลายเครียดและนอนหลับ (Benzodiazepines)

2. ยากลุ่มออกฤทธิ์ช้า
ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ เนื่องจากยาไปเปลี่ยนแปลงระดับสารสื่อประสาทในสมอง ผู้ป่วยจึงต้องรับประทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ จึงเริ่มเห็นผล ยา กลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยาเหมือนยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็ว ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น ยากลุ่มต้านเศร้า (Anti-depressants)

แพทย์มักพิจารณาให้ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็วและออกฤทธิ์ช้าร่วมกันในระยะแรก จนเมื่อเริ่มเห็นผลการรักษาของยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ช้า จึงพิจารณาปรับลดหรือหยุดยากลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็ว การรักษาผู้ป่วยโดยการใช้ยาครั้งแรกอาจต้องทำการรักษาต่อเนื่อง 8-12 เดือน แพทย์จึงพิจารณาหยุดยา ดังนั้น ผู้เข้ารับการรักษาควรรับประทานยาต่อเนื่องตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด

โดยทั่วไปประสิทธิภาพในการรักษาภาวะตื่นตระหนกของยาแต่ละชนิดในกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ช้านั้น ไม่แตกต่างกัน การเลือกใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละรายจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา อาการข้างเคียง ประวัติการรักษา ภาวะทางจิตเวชอื่นๆ โรคประจำตัว ยาอื่นที่ใช้ร่วม รวมถึง ความเหมาะสมด้านราคา

อาการข้างเคียงที่อาจพบได้ของยาแต่ละกลุ่ม ได้แก่ อาการง่วงซึม วิงเวียน แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ในยากลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็ว และอาจพบอาการปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ตาพร่ามัว วิงเวียนศีรษะ ง่วงนอน คลื่นไส้ นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ปัสสาวะลำบาก ปัญหาระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ในผู้ที่ใช้ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ช้า โดยอาจเกิดในช่วงแรกที่เริ่มยาและดีขึ้นเมื่อรับประทานยาต่อเนื่องไประยะหนึ่ง

การใช้ยารักษาในผู้ที่มีอาการตื่นตระหนกมีความสำคัญ หากแพทย์พิจารณาให้การรักษาโดยการใช้ยา ผู้เข้ารับการรักษาควรปฏิบัติตนและรับประทานยาตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ควบคุมอาการและป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *