เรื่องของเบียร์ ที่สายดื่มต้องรู้ ประโยชน์ และ โทษ ของเบียร์

เรื่องของเบียร์ ที่สายดื่มต้องรู้

เรื่องของเบียร์ ที่สายดื่มต้องรู้ เชื่อว่ามีหลายคนเลยใช่ไหม ที่มีความชื่นชอบแบบนี้ เพราะงานสังสรรค์ที่ครบเครื่องสำหรับบางคน จะต้องห้ามขาดเครื่องดื่มประเภท แอลกอฮอล์ เป็นเด็ดขาด และ ” เบียร์ ” ก็ถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว บางคนอาจจะดื่มเบียร์เพียงแค่ช่วงเวลาที่มีงานพบปะสังสรรค์ หรือบางคนก็อาจจะชื่นชอบการ ดื่มเบียร์ ในช่วงเวลาที่ผ่อนคลายหลังเลิกงาน เพราะว่าเบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดื่มง่าย และมีเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ที่ต่ำ

ประเภทและส่วนผสมของเบียร์

ก่อนที่เราจะไปพูดถึงคุณค่าทางโภชนาการหรือโทษต่างๆ ของ เบียร์ เราควรจะมาดูกันก่อนว่าเครื่องดื่มยอดฮิตอย่างเบียร์ มีส่วนผสมและประเภทหลักๆ อย่างไรบ้าง ดื่มเบียร์อย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ โดยการที่จะผลิตเบียร์ออกมาให้หลายๆ คนได้ดื่มกันนั้น จะใช่วัตถุดิบในการผลิตหลักๆ อยู่ 4 อย่าง คือ

1.น้ำ คือวัตถุดิบหลักที่สำคัญของ การผลิตเบียร์ เพราะว่าเบียร์มีส่วนผสมของน้ำมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ความแตกต่างของน้ำที่ใช้ในการผลิตก็จะส่งผลให้รสชาติของเบียร์มีความแตกต่างกันออกไป โดยจะแบ่งได้สองกรณีคือ

น้ำที่มีแร่ธาตุมาก จะส่งผลทำให้เบียร์มีรสชาติที่เข้มข้นมากกว่า เพราะจะดึงรสฝาดของ ฮอปส์ ออกมาได้มากกว่า
น้ำที่มีแร่ธาตุน้อย จะได้เบียร์ที่มีรสชาติที่นุ่มนวลกว่า เพราะมีการดึงรสฝาดออกมาจาก ฮอปส์ ได้น้อยกว่า
2.ฮอปส์ (Hobs) พืชชนิดหนึ่งที่ใช้ส่วนดอก มาเป็นวัตถุดิบ เพื่อให้เบียร์มีรสชาติที่ขม โดยจะเติมไปในขั้นตอนของการต้มเบียร์ นอกจากประโยชน์ของฮอปส์จะช่วยในเรื่องของรสชาติแล้ว ฮอปส์ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของกลิ่น และการยืดอายุในการเก็บรักษาของเบียร์ได้อีกด้วย ดังนั้นขั้นตอนการเลือกพันธุ์ของ ฮอปส์ ยังเป็นอีกเคล็ดลับหนึ่งที่ทำให้เบียร์แต่ละที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป

3.มอลต์ (Malt) เป็นเมล็ดธัญพืชที่ใช้ในการนำมาผลิตเบียร์ ซึ่งในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะใช้น้ำตาลที่ได้จาก มอลต์ เพื่อให้ยีสต์ได้เปลี่ยนจากน้ำตาลกลายเป็น แอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในส่วนของมอลต์เองก็มีอยู่หลากหลายประเภท มอลต์จะทำให้เบียร์นั้นมีคุณสมบัติพิเศษมากขึ้น เช่น ลักษณะของสีที่แตกต่าง หรือในส่วนของกลิ่นและรสชาติ

4.ยีสต์ (Yeast) เป็นจุลินทรีย์ที่มีหน้าที่ทำให้น้ำตาลในมอลต์ การดื่มเบียร์ที่ถูกต้อง เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยีสต์เองยังเป็นตัวที่ใช้แบ่งประเภทหลักๆ ของเบียร์ได้อีกด้วย

ทั้ง 4 อย่างที่ได้กล่าวถึงนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนผสมหลักเพียงเท่านั้น เพราะการผลิตเบียร์ยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดลับของแต่ละคน เพื่อให้เอกลักษณ์ของเบียร์นั้นมีความแตกต่าง

ประเภทของ ” เบียร์ ” ที่มีการแบ่งโดยประเภทของยีสต์ หลายคนอาจจะกำลังคิดว่า เบียร์ ที่ดื่มกันอยู่ทุกวัน เรื่องของเบียร์ ที่สายดื่มต้องรู้ โดยที่มีฉลากหรือแบรนด์ที่แตกต่างกัน อาจจะเป็นเบียร์คนละประเภท แต่ในความจริงแล้วการแบ่งประเภทของเบียร์หลักๆ นั้นมีอยู่เพียง 2 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ

  • ประเภทที่ 1 Top-Fermenting Yeast หรือ ยีสต์ประเภทที่หมักลอยผิว โดยยีสต์ประเภทนี้ในช่วงเวลา การหมักจะทำงานอยู่ที่หน้าผิวของเบียร์ โดยเราจะเรียกเบียร์ที่ได้จากยีสต์ชนิดนี้ว่า Ale
  • ประเภทที่ 2 Bottom-Fermenting Yeast หรือ ยีสต์ประเภทที่หมักนอนก้น โดยยีสต์ประเภทนี้ในช่วงเวลา การหมักจะทำงานอยู่ที่ด้านล่างของเบียร์ โดยเราจะเรียกเบียร์ที่ได้จากยีสต์ชนิดนี้ว่า Lager
    เบียร์ที่ได้นำมาขายในท้องตลาด ในบ้านเราส่วนมากนั้นจะเป็นเบียร์ประเภท Lager เพราะว่าเบียร์ชนิดนี้มีแคลอรี่ต่ำ ดื่มได้ง่าย ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ซึ่งเหมาะกับสภาพอาการที่ร้อนจัด ในบ้านเราเป็นอย่างมาก

คุณค่าทางโภชนาการของเบียร์

เบียร์ 1 ออนซ์ จะได้รับพลังงานอยู่ที่ 12.8 กิโลแคลอรี่

เบียร์ 1 กระป๋อง 356 กรัม จะได้รับพลังงาน 153.1 กิโลแคลอรี่

นอกจากการดื่มเบียร์จะได้รับความสดชื่นและได้รับแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายแล้ว การดื่มเบียร์ยังได้รับสารอาหารจำพวกวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดื่มเบียร์

  • มีประโยชน์ต่อหัวใจ
  • มีส่วนในการช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงต่อกระดูก
  • ช่วยลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม
  • ลดปริมาณสารก่อมะเร็งในเนื้อสัตว์
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • มีส่วนช่วยในเรื่องระบบการขับถ่าย
  • ช่วยผ่อนคลายความเครียด

ผลเสียของการดื่มเบียร์

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • อาจจะเกิดอาการเสพติดแอลกอฮอล์
  • มีความเสี่ยงต่อภาวะอาการซึมเศร้า
  • เสี่ยงต่อโรคตับ
  • น้ำหนักขึ้น
  • มีส่วนทำให้ก่อมะเร็งทั้งในลำคอ และปาก newsportforyou
  • Tips การดื่มเบียร์ให้อร่อย
  • เบียร์ขวดหรือกระป๋อง แม้ว่าจะผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ก็ไม่ควรเก็บไว้นานนัก เพราะเบียร์จะเสียกลิ่นและรส ประเภทของเบียร์ ควรรีบดื่มก่อนภายในเวลา 3-4 เดือนหลังจากวันที่ผลิตจากโรงงาน
  • อุณหภูมิในการเก็บที่ดีคือระหว่าง 4.5-21 องศาเซลเซียส
  • เก็บให้ห่างแสงแดดเพราะจะทำให้เบียร์เสื่อมคุณภาพ
  • เพื่อให้ได้รสชาติเบียร์แท้ๆ ไม่ควรใส่น้ำแข็ง แต่ให้ใส่ในแก้วที่พอดีแล้วกินให้หมดก่อนที่เบียร์จะหายเย็น
  • เบียร์ที่มีกลิ่นหอม ควรกินใส่แก้วปากกว้าทรงทิวลิป เวลาดื่มจะได้กลิ่นของเบียร์ด้วย ยิ่งอร่อย
  • เบียร์ที่แอลกอฮอล์ต่ำ เหมาะกับอาหารเบาๆ เช่น สลัด ปลา เมนูนูเรียกน้ำย่อย
  • เบียร์ที่แอลกอฮอล์สูง เหมาะกับอาหารหนัก หรือรสจัด เช่น สเต็ก ข้าวปั้น ซูชิ ฯลฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *