เหล้าบ๊วย สูตรดองเหล้าบ๊วย แบบญี่ปุ่น ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

เหล้าบ๊วย

เหล้าบ๊วย เราต่างรู้กันว่า ในช่วงเดือนมีนาคมของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่ ลูกบ๊วย จะให้ผลผลิตเป็นจำนวนมาก โดยลูกบ๊วยนั้น จะไม่นิยมกินสด ๆ เพราะเปลือกมีรสชม จึงนิยมนำมาดองกับเหล้าจนเกิดเป็น “เหล้าบ๊วย” วันนี้จะพาไปรู้จักกับ บ๊วย พร้อมแจก สูตรเหล้าบ๊วย เกร็ดความรู้ สั้นๆ วิธีทำเหล้าบ๊วย ที่สามารถทำเองง่าย ๆ ด้วยตัวเองได้ที่บ้าน จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

รู้จักกับ บ๊วย บ๊วย เป็นผลไม้เมืองหนาว มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายไปหลายประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไทย ลาว พม่า เวียดนาม ไต้หวัน สำหรับในประเทศไทย มีการเพาะปลูกกันมานานแล้ว โดยได้แพร่เข้ามาทางภาคเหนือ โดยนำพันธุ์มาจากไต้หวัน และญี่ปุ่น ใบขนาดเล็ก สีเขียวอมเทา ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกมีกลิ่นหอม สีขาว หรือชมพู ผลเล็ก ทรงกลมผลอ่อน สีเขียว ผลสุก มีสีเหลิอง เนื้อนิ่ม รสเปรี้ยวอมหวาน และมีเมล็ดแข็ง

ลักษณะของบ๊วย

  • ต้นบ๊วย จัดเป็นไม้ผลยืนต้นที่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีโรค แมลงรบกวนน้อย เหล้าบ๊วย และให้ผลผลิตสูงตามอายุ และขนาดลำต้น โดยต้องการอุณหภูมิในการปลูกต่ำประมาณ 7.2 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบกิ่ง หรือด้วยวิธีการปักชำ
  • ใบบ๊วย ใบมีขนาดเล็ก มีสีเขียวอมเทา ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย
  • ดอกบ๊วย ดอกมีกลิ่นหอม มีสีขาว หรือสีชมพู
  • ผลบ๊วย หรือ ลูกบ๊วย ผลมีลักษณะกลมสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่แล้ว จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลบ๊วยโดยทั่วไปแล้ว จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร เนื้อมีรสขมอมเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม ผลสุกเนื้อนิ่ม ในผลมีเมล็ดแข็ง ในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวันผลจะแก่ เริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ส่วนในประเทศไทย จะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนเมษายน

สูตรดอง เหล้าบ๊วย ทำได้อย่างไร?

วัตถุดิบ และอุปกรณ์

  • บ๊วยสด เลือกที่ผลยังเป็นสีเขียว หรือเขียวอมเหลือง เนื้อแข็ง ไม่สุก หรือช้ำจนนิ่มเละ
  • น้ำตาลกรวด
  • เหล้าสีขาว (White Spirit) ที่มีแอลกอฮอล์สูงกว่า 25 ดีกรี
  • โหลแก้ว มีฝาปิดสนิท เลือกที่เป็นฝาเกลียว หรือฝาล็อกซิลิโคน
  • ไม้ปลายแหลม และมีด สำหรับแต่งผลบ๊วย
  • ถุงผ้า หรือผ้าสำหรับห่อขวดโหล และกระดาษ หรือสติ๊กเกอร์แบบเขียนทับได้

วิธีทำเหล้าบ๊วย

  1. นำผลบ๊วยสด ไปแช่ในน้ำสะอาดนาน 2-4 ชั่วโมง เพื่อให้ลดความขื่นลง ล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้งสนิท หรือหากไม่สะดวกผึ่งลม สามารถเช็ดผลบ๊วยด้วยผ้าสะอาด หรือทิชชูก็ได้
  2. หากผลบ๊วยมีรอยช้ำ หรือมีรอยแมลงเล็กน้อย เว็บ บาคาร่า77 สามารถใช้มีตตัดแต่งส่วนที่ไม่ต้องการออกได้เหมือนกัน ใช้ไม้ปลายแหลมเขี่ยขั้วสีดำ ๆ ออกให้หมด พักไว้
  3. เตรียมโหล ล้างโหลให้สะอาด ฆ่าเชื้อด้วยการนำโหลไปนึ่ง ต้ม หรือราดด้วยน้ำร้อน แล้วพักไว้ให้โหลแห้งสนิท
    เคล็ดลับ: เช็ดด้วยผ้าสะอาด หรือทิชชูชุบเหล้าเล็กน้อย แอลกอฮอล์ในเหล้า จะช่วยให้ขวดโหลแห้งไวขึ้น
  4. ใส่บ๊วย และน้ำตาลกรวดลงในโหล หากต้องการให้เหล้าบ๊วยมีรสหวานนำ ให้ใช้บ๊วย และน้ำตาลในน้ำหนักเท่า ๆ กัน ถ้าไม่ต้องการเหล้าบ๊วยที่หวานมาก ให้ลดน้ำตาลลงครึ่งสูตร
  5. จากนั้น เทเหล้าลงในโหลดอง เหล้าที่คนญี่ปุ่นนิยมใช้ทำอุเมชู คือ เหล้าโซจู เพราะมีราคาถูกกว่าสาเก แต่จะเลือกใช้วอดก้า เหล้าขาว 40 ดีกรี หรือเหล้าอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน
  6. ปิดโหลให้สนิท ห้อยแท็ก หรือแปะสติ๊กเกอร์ บอกข้อมูลของเหล้าบ๊วย เช่น ปริมาณน้ำตาล และบ๊วยที่ใช้ ชนิดของเหล้า แหล่งปลูกบ๊วย เพื่อปรับปรุงสูตรเหล้าบ๊วยของเราในปีหน้า
  7. เก็บโหลเหล้าบ๊วยไว้ในบริเวณที่ไม่โดนแสงแดดโดยตรง จะทำให้เหล้าบ๊วยเป็นสีเหลืองสวยน่าดื่ม จะใช้วิธีเก็บเหล้าบ๊วยไว้ในถุงผ้า หรือใช้ผ้าลายสวย ๆ มาห่อโหลไว้ก็ได้เหมือนกัน
  8. ใช้เวลาดองประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี จะได้เหล้าบ๊วยเปรี้ยวหวานกลมกล่อม หอมกลิ่นบ๊วย พร้อมดื่ม

เห็นไหมว่า วิธีทำอุเมชู สูตรดอง เหล้าบ๊วย ทำง่ายมาก ๆ  สามารถทำได้เอง ถือเป็นวิธีการถนอมอาหาร โดยการหมัก การดองได้อีกด้วยนะ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมลองไปหาผลบ๊วยมาลองทำกันดูนะจ๊ะ รับรองได้เหล้าบ๊วยกินเองง่าย รสชาติไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *